ประวัติสงครามดอกกุหลาบ
ผู้เข้าชมรวม
3,772
ผู้เข้าชมเดือนนี้
12
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
สงครามดอกกุหลาบ (ภาษาอังกฤษ: Wars of the Roses) (ค.ศ. 1455 - ค.ศ. 1489) เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ ระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์และผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ยอร์ค ราชวงศ์ทั้งสองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท
ผู้ที่เข้าร่วมสงครามส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดิน ผู้สนับสนุนของทั้งสองเปลี่ยนไปมาตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งงานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่งผู้ครองที่ดิน และความมีอาวุโส บางครั้งก็ยากที่จะติดตามว่าใครเข้าข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือยกเลิกการเป็นพันธมิตรขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่งจากการแต่งงาน หรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ เช่นในกรณีของจอห์นแห่งกอนท์ประมุขของแลงคาสเตอร์ซึ่งตำแหน่งแรกเป็นเอิร์ลแห่งริชมอนด์ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งที่พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ได้ครองต่อมา ขณะที่ตำแหน่งแรกของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ประมุขของยอร์คคือเอิร์ลแห่งเคมบริดจ์
ถึงแม้ว่าจะมีการปะทะกันของผู้สนับสนุนเฮนรีและริชาร์ดเป็นครั้งคราวแต่ระยะที่มีการต่อสู้หนักเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1455 - ค.ศ. 1489
สงครามดอกกุหลาบเป็นสงครามต่อเนื่องของสองราชวงศ์ระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และราชวงศ์ยอร์คในการครองราชบัลลังก์อังกฤษ ที่โดยทั่วไปเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ระหว่าง ค.ศ. 1453 ถึง ค.ศ. 1487 แม้ว่าจะมีการเริ่มต่อสู้กันขึ้นก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนั้นบ้างก็ตาม
เฮนรีแห่งโบลิงโบรคเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ขณะที่ทรงราชย์ในปี ค.ศ. 1399 เมื่อทรงปลดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์จากการเป็นพระมหากษัตริย์ เพราะการปกครองของพระองค์ทำให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ในหมู่ขุนนางโดยทั่วไป เฮนรีแห่งโบลิงโบรค (ผู้ครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4) และพระราชโอรสพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ทรงสามารถปกครองอังกฤษได้โดยไม่มีปัญหาโดยเฉพาะในด้านการใช้กำลังทหาร แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคต พระเจ้าเฮนรีที่ 6รัชทายาทของพระองค์ยังทรงเป็นทารกและทรงเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่พระสุขภาพทางจิตไม่ไคร่ปกตินัก และทรงปกครองภายใต้อิทธิพลของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีแต่เรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน
ราชวงศ์แลงคาสเตอร์อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากการสืบเชื้อสายมาจากจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 โอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ความไม่มีสมรรถภาพในการครองราชบัลลังก์เป็นการเปิดโอกาสให้ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระโอรสองค์ที่สองและสี่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พ ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และพิสูจน์ตนเองว่าเป็นผู้มีความสามารถในด้านการบริหารในการที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ของราชอาณาจักร ดยุคแห่งยอร์คโต้เถียงกับบุคคลสำคัญๆ ของตระกูลแลงคาสเตอร์ในราชสำนัก ต่อหน้าพระราชินีมาร์กาเร็ตในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีผู้ทรงหวาดกลัวว่าดยุคแห่งยอร์คในที่สุดก็จะยึดอำนาจจากพระราชโอรสที่ยังทรงเป็นทารกเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
แม้ว่าการปะทะกันระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์แลงคาสเตอร์และราชวงศ์ยอร์คจะเกิดขึ้นบ้างก่อนหน้านั้น แต่การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1455 ในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 ที่เป็นผลให้ผู้นำสำคัญๆ ของฝ่ายแลงคาสเตอร์เสียชีวิตแต่ยังคงเหลือผู้สืบเชื้อสายมาเป็นศัตรูของริชาร์ด แม้ว่าจะสงบศึกกันอยู่ระยะหนึ่งแต่พระราชินีมาร์กาเร็ตก็ทรงยุให้ฝ่ายแลงคาสเตอร์ท้าอิทธิพลของฝ่ายยอร์ค
การต่อสู้เริ่มขึ้นอย่างรุนแรงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1459 ฝ่ายยอร์คเสียเปรียบจนต้องหนีออกจากประเทศแต่ผู้สนับสนุนคนสำคัญริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 นำทัพเข้ามารุกรานอังกฤษจากคาเลส์และจับพระเจ้าเฮนรีได้ในยุทธการนอร์ทแธมตัน ดยุคแห่งยอร์คจึงกลับอังกฤษและปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษและได้รับการหว่านล้อมจากการขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์เต็มตัว พระราชินีมาร์กาเร็ตและขุนนางแลงคาสเตอร์ไปรวบรวมตัวกันทางเหนือของอังกฤษและเมื่อดยุคแห่งยอร์คนำทัพมาปราบก็ถูกสังหารในยุทธการในปลายปีค.ศ. 1460 กองทัพฝ่ายแลงคาสเตอร์จึงเดินทัพลงมายังลอนดอนและจับพระเจ้าเฮนรีได้อีกครั้งในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) แต่ก็ไม่สามารถยึดลอนดอนได้จนต้องถอยกลับไปทางเหนือ ลูกคนโตของดยุคแห่งยอร์คประกาศตัวเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และทรงรวบรวมกองกำลังฝ่ายยอร์คกลับมาและทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดใน ยุทธการโทว์ทัน (Battle of Towton) เมื่อต้นปี ค.ศ. 1461
หลังจากการต่อต้านอย่างประปรายของฝ่ายแลงคาสเตอร์ที่ถูกกำหราบในปี ค.ศ. 1464 และการถูกจับของพระเจ้าเฮนรีได้อีกครั้งแล้ว พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงบาดหมางกับผู้ที่สนับสนุนพระองค์และเอิร์ลแห่งวอริค (“ผู้สร้างกษัตริย์” (Kingmaker)) ที่ปรึกษา และยังทรงห่างเหินกับพระสหายและแม้แต่พระญาติพระวงศ์ของพระองค์เอง โดยทรงหันไปให้การสนับสนุนสมาชิกจากพระญาติพระวงศ์ของพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ทรงเสกสมรสด้วยอย่างลับๆ
เอิร์ลแห่งวอริคพยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการยกพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 ขึ้นแทน แต่ต่อมาก็หันไปยกพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี ค.ศ. 1471 เอิร์ลแห่งวอริคและเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์เสียชีวิตในสนามรบและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงถูกสังหารทันทีหลังจากนั้น
หลังจากนั้นบ้านเมืองก็สงบอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันในปี ค.ศ. 1483 พระอนุชาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ผู้ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ และยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 โดยกล่าวหาความถูกต้องของการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นข้ออ้าง การยึดอำนาจและความสงสัยว่าพระองค์ทรงมีส่วนในการฆาตกรรมพระนัดดาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5และพระอนุชา (เจ้าชายในหอคอยแห่งลอนดอน (Princes in the Tower)) ทำให้เกิดการก่อความไม่สงบขึ้นหลายแห่งในอังกฤษ
เฮนรี ทิวดอร์ผู้เป็นพระญาติห่างๆ ทางสายแลงคาสเตอร์ผู้อ้างในสิทธิในราชบัลลังก์ ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ในยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ ในปี ค.ศ. 1485
ในปี ค.ศ. 1487 ทางฝ่ายยอร์คก็ลุกขึ้นต่อต้านที่มีผลทำให้เกิดการต่อสู้อย่างประจันหน้า และแม้ว่าผู้สืบสายของฝ่ายยอร์คจะถูกคุมขังเป็นจำนวนมากแต่การต่อต้านก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ประปรายจนกระทั่งเพอร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) ผู้อ้างสิทธิฝ่ายยอร์คถูกสังหารปี ค.ศ. 1499
....................................................
ชื่อ “สงครามดอกกุหลาบ” เชื่อกันว่ามิได้เป็นชื่อที่ใช้กันในระหว่างสงครามแต่ที่มาของชื่อมาจากตราประจำพระราชวงศ์ทั้งสอง กุหลาบแดงแห่งแลงคาสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามดอกกุหลาบมานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสือชื่อ “แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์” (Anne of Geierstein) โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์ สกอตต์ใช้ชื่อที่มาจากบทละครเรื่อง “พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ตอนที่ 1” โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ซึ่งสองฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเลือกดอกกุหลาบสีต่างกันที่วัดเทมเพิล
แม้ว่าดอกกุหลาบจะใช้บ้างบางครั้งระหว่างสงคราม แต่ผู้เข้าร่วมสงครามส่วนใหญ่จะติดตราของเจ้าของที่ดินผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เป็นทางการที่เจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำมาหากินในที่ดินโดยการให้ใช้ตราและสัญลักษณ์ การขยายตัวของระบบนึ้ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามขึ้น ตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์ก็ได้แก่กองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ที่บอสเวิร์ธใช้ธงมังกรแดง และกองกำลังยอร์คใช้สัญลักษณ์หมีขาว ความสำคัญของดอกกุหลาบมาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 7 หลังจากยุติสงครามแล้วทรงรวมดอกกุหลาบแดงและขาวเป็นดอกกุหลาบแดงขาวดอกเดียวที่เรียกว่า “กุหลาบทิวดอร์” (Tudor Rose)
นอกจากนั้นแล้วชื่อของทั้งสองราชวงศ์ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับเมืองยอร์คและเมืองแลงคาสเตอร์ หรือมณฑลยอร์คเชอร์และแลงคาสเชอร์แม้ว่าการแข่งขันคริกเกตหรือรักบีระหว่างสองมณฑลนี้จะใช้คำว่า “สงครามดอกกุหลาบ” ก็ตาม อันที่จริงแล้วอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในกลอสเตอร์เชอร์, นอร์ธเวลส์ และเชสเชอร์ ขณะที่อสังหาริมทรัพย์และปราสาทของอาณาจักรดยุคแห่งยอร์คตั้งอยู่ทั่วไปในอังกฤษแม้ว่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเวลช์มาร์เชส
.................................................................
มีต่ออีกไปอ่านดูได้ที่เว็บนะเจ้าค่ะ
ป.ล.ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะเจ้าค่ะ
ผลงานอื่นๆ ของ ลิ่วหลี่หลัน ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ลิ่วหลี่หลัน
ความคิดเห็น